หาคน,หางาน  
 


จำนวนผู้เข้าชม

บทความน่ารู้
รูปแบบขององค์ธุรกิจ
มือใหม่กับจดทะเบียนธุรกิจ
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
จดทะเบียนบริษัทจำกัด
ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จดเครื่องหมายการค้า
เปลี่ยน หจก.เป็นบริษัท
จดทะเบียนเลิกบริษัท
จดทะเบียนเลิก หจก.
ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
ทุนจดทะเบียน
ติดต่อเรา
เพื่อนบัญชีบริการ
1.จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
2.แปรสภาพห้างหุ้นส่วน
3.จดทะเบียนบริษัท
4.ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
5.จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
6.จดเครื่องหมายการค้า
7.บริการด้านจัดทำบัญชี
8.ค้นหาและจองชื่อนิติบุคคล
9.การเตรียมข้อมูลจดบริษัท
10.การเตรียมข้อมูลจด
ทะเบียนห้างหุ้นส่วน

11.การย้ายสำนักงาน,ย้ายที่อยู่
12.ใบเสนอราคาจดห้างฯ
13.ใบเสนอราคาจดบริษัท
14.ใบเสนอราคาเปลี่ยน.หจก.เป็นบริษัท
15.ตัวอย่างตราบริษัท,ห้าง
16.ตัวอย่างหนังสือยินยอม
17.ตัวอย่างรายงานการประชุม
18.การจดเลิกบริษัท
19.การจดเลิก หจก.
20.ที่อยู่จัดส่งเอกสาร
21.บัญชีธนาคาร
ร้านหนังสือออนไลน์
ค้นหาและจองชื่อนิติบุคคล
จดทะเบียนธุรกิจ
ค้นหาข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
ตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
ดาวน์โหลดแบบพิมพ์
แจ้งการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี
แจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
ตรวจผู้ทำบัญชีบริษัท
ตรวจแจ้งชื่อผู้สอบบัญชี
ขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชี
รายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ขออนุญาตธุรกิจของคนต่างด้าว
กระดานข่าวกรมพัฒนาธุรกิจ
แบบนำส่งงบการเงิน(สปช.3)
แบบฟอร์มส่งงบการเงิน
หนังสือนำส่งบัญชีผู้ถือหุ้น
สำนักงานประกันสังคม
ความรู้เรื่องเรื่องภาษี
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีป้าย
การทำพินัยกรรม
ยื่นภาษีทางเน็ท
ตรวจชื่อผู้สอบภาษีอากร
ตรวจชื่อผู้สอบภาษีอากร
ตรวจขอคืนภาษีภงด.90,91
ขอเลขผู้เสียภาษีนิติบุคคล
ประมวลรัษฎากรออนไลน์
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
Download แบบพิมพ์
ปฎิทินภาษีอากร
ปฏิทินการจัดสัมมนาภาษี
ตรวจรายชื่อผู้จด Vat
แบบพิมพ์ประกันสังคม
สมาคมนักบัญชีฯ
สภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวมาตรฐานการบัญชี
ผู้ทำบัญชีขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพฯ
ผู้สอบบัญชีขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพฯ
อัตราแลกเปลี่ยน
ชื่อสาธารณกุศล
สวัสดีคะ
ความหมายของทุนจดทะเบียนตอนเปิดบริษัท 
.............. ตอนแรกๆ ก่อนที่จะเปิดบริษัท ได้มีคำถามเกิดขึ้นหลายคนที่ไม่เข้าใจกับคำว่า“ทุนจดทะเบียน” ดังนั้นเราจึงมาทำความเข้าใจกันนะคะ

                        

ทุนจดทะเบียนตอนเปิดบริษัท

ทุนจดทะเบียน ซึ่งกฎหมายเขียนไว้ว่า บริษัทจำกัด มีลักษณะดังนี้

ต้องมีผู้ร่วมทุนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป (เมื่อก่อน 7 คน เดี๋ยวนี้เหลือ 3 ก็จดได้แล้ว)

แบ่งทุนออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน (เช่นเราคิดว่าจะลงทุนทำธุรกิจที่เราต้องการใช้ทุนซัก 1 ล้านบาท ก็อาจจะแบ่งทุนเป็นหุ้น เช่น ตั้งมูลค่าหุ้น หุ้นละ 10 บาทก็ได้ 100,000 หุ้น,หรือหุ้นละ 100 บาท ก็ได้ 10,000 หุ้น เป็นต้น) เมื่อมีผู้ซื้อหุ้นครบ ก็จะได้เงินมา 1 ล้านบาทเป็นต้น

ผู้ถือหุ้นรับผิดจำกัดเพียงเงินค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ (ถ้าส่งครบหมดแล้ว ก็ไปเอาผิดกับบริษัทอย่างเดียว) เช่น หุ้นมูลค่า 100 บาท เราซื้อไว้ซัก 2,000 หุ้น จริงๆต้องส่งเงินรวม 200,000 บาท แต่เราส่งไปก่อน 100,000 บาท ดังนั้นเราต้องรับผิดชอบอีก 100,000 บาท

มูลค่าของหุ้นๆ หนึ่งนั้น ต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท(แต่ส่วนใหญ่เขาจะไม่จดกันเพราะค่าของเงิน 5 บาท ต่ำไป) ส่วนใหญ่มีมูลค่า 10 บาท,100 บาท,1,000 บาท

หุ้นนั้นแบ่งแยกไม่ได้ เช่น หุ้นหนึ่งมีมูลค่า 100 บาท จะแยกออก เป็น 50 บาท 2 กองไม่ได้

ชำระค่าหุ้นนั้นต้องไม่ต่ำกว่า 25% หรือจะชำระเต็มก็ได้ เช่น จดทะเบียนทุน 1 ล้าน แบ่งเป็น 10,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท ในช่วงแรกๆ เราอาจจะไม่ใช้เงินมาก เราก็เรียกเก็บเงินค่าหุ้นก่อน 25 บาทต่อหุ้น ดังนั้นผู้ที่ซื้อหุ้นแล้ว ก็ต้องจ่ายค่าหุ้นละ 25 บาท ทั้งหมด 10,000 หุ้น ก็ได้เงินรวมทั้งหมด 250,000 บาท เป็นต้น (นี่ก็เป็นประโยชน์กับทางบัญชีบริษัทด้วย เพราะถ้าบอกว่า ชำระเต็มจำนวน ก็จะได้เงินทั้งหมด 1 ล้าน ที่นี้ถ้ามีการตรวจสอบขึ้นมาให้แสดงบัญชี ปรากฎว่า เงินฝากธนาคารของบริษัท มีเงินเพียง 3 แสนบาท ก็ต้องถือว่ามีเงินสดถืออยู่อีก 7 แสน แล้วอีก 7 แสนละอยู่ที่ไหน ถ้าคุณไม่สามารถแสดงให้ดูได้ ก็เกิดปัญหาทางบัญชีทันที

จะเห็นได้ว่า ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ แค่ 15 บาท (3 คน คนละ 5 บาท) ก็สามารถจดทะเบียนบริษัทได้แล้ว แต่นั่นแหละบริษัทที่จดทะเบียนทุนเพียง 15 บาท ใครจะค้าขายหรือทำธุรกิจกับคุณด้วยเล่า เช่น บริษัทกำลังก้าว จำกัด จดทะเบียนทุน 15 บาท (ก็เหมือนคนที่มีเงินอยู่ 15 บาท) จะไปซื้อของที่มีราคา 25 บาท คุณก็ไปซื้อของไม่ได้ คนขายก็ไม่อยากขายให้ หรือ ถ้าบริษัทจดทะเบียนทุน 5 แสนบาท แต่ไปรับงานรับเหมาก่อสร้าง 5 ล้านบาท เขาก็อาจจะไม่ให้งานกับคุณ เพราะถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมา บริษัทฯ รับผิดชอบแค่ 5 แสนบาทเอง เป็นต้น
เมื่อเราได้ข้อมูลเรื่อง "ทุน" แล้ว เราก็เอาข้อมูลนี้ไปจดทะเบียน จึงเรียกว่า "ทุนจดทะเบียน"

จะเปิดบริษัทฯ แล้วจะจดทุนเท่าไหร่ละ ถึงจะดี?

เรื่องนี้ก็เป็นคำถามยอดฮิตเหมือนกัน เรื่องนี้เราก็ต้องพิจาณาวิเคราะห์ดูด้วยตนเองว่า เราจะประกอบกิจการธุรกิจนี้ ต้องใช้ทุนประมาณเท่าไหร่ เช่น เปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว เราต้องลงทุนซื้อหม้อ จาน ช้อน โต๊ะ เก้าอี้ บะหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ น้ำแข็งต่างๆ เท่าไหร่ ซักห้าหมื่นพอไหม ถ้าพอก็จบ หรือประกอบกิจการซื้อขายเครื่องจักร ถ้าเครื่องจักรที่ต้องซื้อมาขาย ราคาเครื่องละ 2 ล้าน แต่เรามีทุน 1 ล้าน ก็ซื้อไม่ได้ (แต่นะแหละ ก็มีวิธีการอีกอย่างก็คือซื้อเชื่อ) เช่นเครื่องจักร 2 ล้าน สามารถซื้อเชื่อได้ โดยวางมัดจำ 2 แสน เราก็เอาทุนจ่ายให้ 2 แสน เราก็ยังเหลือทุนอีก 8 แสนที่จะใช้หมุนเวียนต่อไป หรือต้องสำรองเงินไว้ทำไหร่ ถึงจะพอ เผื่อมีเหตุการณ์อะไรฉุกเฉิน ดังนั้นเราลองพิจารณาดู แต่โดยทั่วไปๆ ถ้ากิจการไม่ใหญ่โตมีอะไรมากก็จดทุน 1 ล้าน เรียกชำระค่าหุ้น 25% ในช่วงแรก ก็พอ แต่ก็มีบางหน่วยงานที่เราไปรับงาน เขาอาจระบุว่า คุณต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 2 ล้าน ดังนั้นเราก็ต้องจดทุนอย่างน้อย ก็ 2 ล้านด้วยคะ

ทำไมถึงฮิต จดทะเบียนทุน 1 ล้านบาท กันจังเลยนะ?

อาจจะเป็นเพราะว่าง่ายเรื่องของค่าธรรมเนียมตอนจดทะเบียนบริษัท ซึ่งคิดตามอัตราทุนจดทะเบียน ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท เสียค่าธรรมเนียม 5,000 บาท ค่าหนังสือบริคณห์สนธิ 500 บาท ดังนั้นถ้าเราจดทะเบียนบริษัทที่มีทุนเพียง 15 บาท ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียม 5,000 บาทเท่ากัน ก็เลยจดทุน 1 ล้านกันใหญ่ เพราะถ้าเราจดทุนน้อยๆ ก็ต้องไปเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มทุนอีกในภายหลัง เช่น จะทะเบียนทุน 5 แสนบาท ต่อมาอยากเพิ่มทุนเป็น 1 ล้าน ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก 5,000 บาท เป็นต้น

ต้องมีเงินจริง 1 ล้านบาทตามที่จดทะเบียนเลยใช่มั้ย?

ถ้าทำอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องมีการชำระค่าหุ้นกันตามที่จดทะเบียน และถ้าได้ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวน ก็ได้เงินครบ 1 ล้าน เมื่อมีเงิน 1 ล้านบาท ก็อาจจะไปเปิดบัญชีธนาคาร ฝากไว้ซัก 5 แสนก็ได้ ส่วนที่เหลือก็คือ เงินสด ( แต่ส่วนใหญ่แล้ว การจดทะเบียนเงินจริงมีไม่ถึง 1 ล้านหรอก เป็นแค่ตัวเลขที่จะนำไปจดทะเบียน) เช่นสมมุติว่า จดทุน 1 ล้าน ชำระเต็มจำนวนก็ได้ เงินมา 1 ล้าน แต่ในบัญชีเงินฝากธนาคารมีเพียง 250,000 บาท แล้วเงินสดอีก 750,000 ไปอยู่ไหน ถ้ามีการตรวจสอบบัญชี คุณก็ต้องแสดงให้เห็นว่า มีเงินสดอีก 750,000 อยู่จริง ทีนี่คุณไม่สามารถแสดงได้ ก็อาจมีปัญหาอีก แต่ก็มีวิธีแก้โดย ทางบัญชีก็ต้องหาวิธีให้มีเงินสดให้ได้ เช่น แจ้งว่ากรรมการกู้เงินบริษัทไป ก็นำข้อมูลนี้ไปบันทึกบัญชี พอสรรพากรตรวจสอบบัญชี เจอข้อมูลนี้ เค้าก็ให้ถือว่า เงินที่ให้กู้จำนวนนี้ ต้องคิดดอกเบี้ย ให้กรรมการผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยให้แก่บริษัท โดยคิดตามประกาศของธนาคาร เมื่อกรรมการจ่ายดอกเบี้ย ก็จะกลายเป็นรายได้ของบริษัทไป เมื่อบริษัทมีรายได้จากดอกเบี้ยก็ต้องไปคำนวนภาษี ซึ่งทำให้ฐานรายได้ เพื่อใช้คิดคำนวนภาษีมากขึ้น (แต่มันก็มีทางหลบเลี่ยงอีกอยู่ดีนั่นแหล่ะ แต่โดนสรรพากรตรวจสอบทีไร ก็มีปัญหายุ่งทุกที)

จดทะเบียนทุน 1 ล้าน ต้องชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนไหม?

ตามกฎหมาย การชำระค่าหุ้น สามารถกำหนดหรือตกลงชำระค่าหุ้นได้ตั้งแต่ 25% ขึ้นไป เช่น กำหนด ทุนจดทะเบียน 1 ล้าน แบ่งเป็น 1 หมื่นหุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท ที่ประชุมตกลงให้ชำระค่าหุ้นระยะแรก 25 บาท ต่อหุ้น(จากหุ้นละ 100 บาท ชำระแค่ 25 บาท) เพราะช่วงแรก บริษัทยังไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ เราก็จะได้เงินทั้งสิ้น สองแสนห้าหมื่นบาท อย่างนี้เป็นต้น เงินที่ชำระแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องนำไปฝากบัญชีธนาคารเลย ยกเว้นว่า จดทะเบียนทุนเกิน 5 ล้าน ต้องมีเอกสารรับรองบัญชีจากธนาคารว่าได้มีการชำระแล้ว

ถ้าจดทะเบียนทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้าน ต้องแสดงหลักฐานด้วยใช่ไหม

ใช่ครับ!!!!
ตั้งแต่ วันที่ 5 ม.ค.58 ในการจดทะเบียนตั้งใหม่
ผู้ขอจดทะเบียนต้องแสดงหลักฐานการรับเงินลงทุนจากผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนในวันที่ยื่นจด
และต้องแสดงหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนและบริษัทที่จัดตั้งภายใน 15 วัน
หากเป็นการลงทุนด้วยทรัพย์สินต้องแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นๆ ภายใน 90 วันนับจากวันจัดตั้ง
ส่วนกรณีเพิ่มทุนห้างหุ้นส่วนและบริษัท ต้องแสดงหลักฐานการชำระเงินค่าหุ้นที่ธนาคารออกให้ต่อนายทะเบียนในวันยื่นขอเพิ่มทุนด้วย
ถือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับห้างหุ้นส่วนและบริษัท ที่จัดตั้งให้ได้รับความเชื่อถือทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ที่จะจดจัดตั้งบริษัทใหม่

คำถามที่พบบ่อย

คำถาม เดิมมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท จะเพิ่มอีก 4 ล้านต้องแสดงรายการบัญชีหรือไม่
คำตอบ ไม่ต้องแสดงครับ เพราะ 5 ล้านพอดี ถ้าเกิน 5 ล้าน ถึงจะต้องแสดง
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถาม เดิมมีทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท จะเพิ่มอีก 2 ล้านต้องแสดงรายการบัญชีหรือไม่
คำตอบ ต้องแสดงรายการครับ ในส่วนที่เกินมา คือ 2 ล้านบาท ภายใน 15 วัน หลังจากจดทะเบียนเรียบร้อย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถาม เดิมมีทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท ชำระเต็ม 1 ล้าน จะเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 4 ล้านต้องชำระเต็มด้วยหรือไม่ หรือชำระ 25% ก็ได้
คำตอบ ชำระ 25% ก็ได้ครับ แล้วแต่ที่ประชุมตกลงกัน
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เป็นไงคะ เรื่องทุนจดทะเบียน น่าจะเป็นข้อมูลพอที่จะตัดสินใจว่า เราจะใช้ทุนเท่าไหร่ เพื่อใช้ในการจดทะเบียนบริษัท
 สวัสดีคะ

 

 

Copyright © Friendjob and Accounting Co.,Ltd.
Contact

081-622-1890,ใช้อีเมล์แทน-jujydo@hotmail.com


(งานจดทะเบียน)081-622-1890,086-478-6126(คุณชัยพร)
(งานบัญชี)086-478-6130(คุณเรืองรัตน์)

jujydo@hotmail.com

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์เลขที่ 7100303000270