"อยากมีธุรกิจหรือกิจการเป็นของตนเอง จะจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแบบไหนดี ?"
แหม!!! ชั่งเป็นคำถามยอดฮิตเสียจริง
กับหลายๆคนที่อยากทำธุรกิจหรือกิจการเป็นของตนเอง แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า การเริ่มต้นทำธุรกิจโดยการเป็นธุรกิจของประเภทหรือในรูปแบบบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร รูปแบบธุรกิจข้างต้นต่างมีทั้งส่วนดีส่วนเสีย ขึ้นกับความเหมาะสมของขนาดและประเภทธุรกิจ ดังนั้นก่อนการเริ่มต้นธุรกิจ เจ้าของธุรกิจควรตัดสินใจว่า ควรจะจัดตั้งธุรกิจแบบใดจึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของท่าน เพื่อให้กิจการมีต้นทุนต่ำและมีกำไรสูงสุด ลองพิจารณาดูนะคะ
1. ธุรกิจบุคคลธรรมดา
เป็นเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ไม่ได้ร่วมลงทุนกับบุคคลอื่น ทำให้มีอิสระในการดำเนินงานและการตัดสินใจได้อย่างเต็มที่ ผลกำไรที่เกิดขึ้นก็ไม่ต้องแบ่งให้ใคร แต่เจ้าของธุรกิจจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการที่เกิดขึ้นไม่จำกัดจำนวน
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี ข้อดีของธุรกิจบุคคลธรรมดาคือไม่ต้องยุ่งยากในการจัดทำบัญชี แต่ต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าตามฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ธุรกิจประเภท ห้างหุ้นส่วน
ลักษณะของห้างหุ้นส่วน มาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า "อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น" ดังนั้นตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. ต้องมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป เข้ามาเป็นหุ้นส่วน จะนำทุนมาเข้าหุ้นกันมากน้อยเท่าใดก็ได้
2. ตกลงเข้ากัน คือ บุคคลที่จะเข้าร่วมประกอบกิจการได้ทำสัญญาตกลงกันว่าจะประกอบการค้าร่วมกัน การตกลงกันนั้น จะต้องมีการแสดง เจตนาโดยแจ้งชัด อาจจะทำเป็นสัญญาปากเปล่า หรือ ลายลักษณ์อักษร ก็ได้ว่าจะเข้าเป็น "ห้างหุ้นส่วน" ทุนที่จะนำมาลง ได้แก่ เงินสด ทรัพย์สินอย่างอื่น หรือ แรงงาน คือ ใช้กำลัง สติปัญญา ความคิดแรงกายแทน
3. เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน คือคู่สัญญา จะต้องมาร่วมแรงรวมใจและร่วมทุกข์กันเพื่อทำการตามที่ได้ตกลงไว้
4. เพื่อประสงค์กำไร คือ เป็นการตกลงใจทำงาน โดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อผลกำไร อันได้เกิดจากกิจการที่ทำนั้น และผลกำไรจะได้นำมาแบ่งกัน ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แต่ถ้ากิจการไม่หวังผลกำไร กิจการนั้นไม่ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (จดทะเบียน)
ห้างหุ้นส่วนสามัญ(ไม่จดทะเบียน)
เป็นการตกลงทำกิจการร่วมกันและแบ่งกำไรกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้กฏหมายไม่ได้บังคับให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงเสมือนมีสภาพเป็นคณะบุคคล ซึ่งหากเลือกจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" ซึ่งความรับผิดในหนี้ของหุ้นส่วน จะจำกัดเพียง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น และส่วนใหญ่ไม่เป็นที่นิยมจดทะเบียนกัน
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี การจัดทำบัญชีและเสียภาษี ไม่ต้องยุ่งยากในการจัดทำบัญชี เหมือนกรณีบุคคลธรรมดา แต่การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรค(2) ของประมวลรัษฏากร นอกจากนี้เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียน)
การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้ เมื่อได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฏหมาย กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" ซึ่งความรับผิดในหนี้ของหุ้นส่วน จะจำกัดเพียง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น และส่วนใหญ่ไม่เป็นที่นิยมจดทะเบียนกัน
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
การประกอบการในลักษณะนี้จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และต้องใส่คำว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ไว้หน้าชื่อห้างเสมอไปด้วย เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัดสินไทย โดยต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และต้องประกอบด้วยหุ้นส่วนอยู่ 2 ประเภทคือ
1. ประเภทจำกัดความรับผิดชอบ หมายถึงเป็นหุ้นส่วน จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้น ไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการ
2. ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ การไม่จำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ไม่จำกัดหนี้สินที่เกิดขึ้นทุกกรณีของห้างหุ้นส่วนและมีสิทธิที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ
ส่วนเรื่องการเบิกจ่ายเงินกับธนาคารของห้างฯ ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างหุ้นส่วนกันเองแล้วไปแจ้งกับธนาคาร ไม่เกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
ข้อดีของห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. รวบรวมเงินทุน ความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วนได้มากขึ้น
2. ผู้มีเงินทุนยินดีจะลงทุนร่วมด้วย โดยเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ทำให้พ้นภาระรับผิดชอบในหนี้สินแบบลูกหนี้ร่วม
3. สามารถจะระดมบุคคลที่มีความเชียวชาญในสาขาใด ๆ มาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้
4. ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น
5. เสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล
6. เป็นที่นิยมจดทะเบียน
ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. การจัดตั้งมีความยุ่งยากมากขึ้น
2. หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ต้องรับภาระหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
3. เมื่อมีผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดตาย ล้มละลาย หรือลาออก ห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเลิกกิจการและชำระบัญชีให้เรียบร้อย
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
3. การจัดตั้งกิจการจะต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 คน (ตามกฎหมายใหม่ เมื่อก่อนต้องมีผู้ก่อการและผู้ถือหุ้นอย่างน้อยเจ็ดคน) โดยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ ดำเนินโดยคณะกรรมการบริษัท ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากกว่า
การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการเลือกรูปแบบองค์กร
ต่างๆ
รายละเอียด |
เจ้าของคนเดียว |
ห้างหุ้นส่วน |
บริษัท |
หมายเหตุ |
1. เงินลงทุน |
มีเงินทุนจำกัด |
ระดมทุนได้มากขึ้น |
ระดมทุนได้ง่ายและมาก |
- |
2. การบริหารงาน |
มีอำนาจเต็มที่ |
ต้องปรึกษากับหุ้นส่วน,การตัดสินใจตามความเห็นของหุ้นส่วน
|
บริหารโดยคณะกรรมการบริษัท, กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้มีอำนาจ
|
- |
3. ความรับผิดในหนี้สิน |
เต็มจำนวน |
เต็มจำนวน/จำกัด |
เฉพาะมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ |
- |
4. ผลกำไรขาดทุน |
ไม่ต้องแบ่งใคร |
เฉลี่ยให้ผู้เป็นหุ้นส่วน |
จ่ายเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ถือ |
- |
5. ภาษีเงินได้ |
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37% |
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37% ถ้าจดเป็นนิติฯ จะเสีย 15%-30% กรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี |
อัตราร้อยละ15-30% ของกำไรสุทธิ (SME เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า 15%-30%) ในกรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี |
ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล |
6. ความน่าเชื่อถือ |
น้อย |
ปานกลาง |
มาก |
- |
7. อัตราค่าธรรมเนียม |
ประมาณ 50 บาท |
ประมาณ 1,050 บาท |
ประมาณ 5,000 บาท |
ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล |
เป็นไงคะ
ท่านพิจารณาแล้วเห็นกิจการประเภทไหนจะเหมาะสมกับธุรกิจของคุณ ลองพิจาณาดูนะคะ ขอให้ โชคดีคะ ร่ำรวยกันทุกๆคนคะ สวัสดีคะ
Copyright © Friendjob and Accounting Co.,Ltd. Contact
081-622-1890,ใช้อีเมล์แทน-jujydo@hotmail.com
(งานจดทะเบียน)081-622-1890,086-478-6126(คุณชัยพร)
(งานบัญชี)086-478-6130(คุณเรืองรัตน์)
jujydo@hotmail.com
ทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์เลขที่ 7100303000270
| |